เมื่อกลางสัปดาห์ มีกลุ่มผู้เสียหายจากการเล่นแชร์ 3 กลุ่มคือแชร์บ้านซ้อใหม่ แชร์หน้ากากอนามัย และแชร์เจลล้างมือ ไปแจ้งความกับตำรวจให้เอาผิดกับเท้าแชร์ ที่ทำให้สูญเงินไปกว่า 130 ล้านบาท คดีแบบนี้ต้องใช้เวลานานกว่าจะสอบสวนจนนำไปสู่การจับกุม ยึดเงินมาคืนให้กับกลุ่มผู้เสียหาย แต่มักจะไม่ได้คืนเพราะเท้าแชร์ใช้หมดแล้ว วันนี้เรามีคำเตือนจากหน่วยงานที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ให้ดูวิธีการตรวจสอบ เล่นแชร์อย่างไรไม่ให้ถูกหลอก
ก่อนอื่นไปดูสถิติคดีที่มีผู้เสียหายเข้าร้องทุกข์กับ DSI กันก่อน จากข้อมูลในช่วง 7 ปีนี้ จะเห็นว่ามีผู้เสียหายเข้าไปร้องเรียนรวมแล้ว 170 คดี โดย DSI รับเป็นคดีพิเศษ 57 คดี ความเสียหายมากที่สุดคือในปี 2558 จำนวน 10,348 ล้านบาท รองลงมาคือเมื่อปี 2562 จำนวน 3,200 กว่าล้านบาท และในปีนี้ 2,600 กว่าล้านบาท
นายปิยะศิริ วัฒนวรางกูร ผู้อำนวยการกองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ DSI บอกว่า ส่วนใหญ่คดีที่มีการร้องทุกข์เป็นคดีประเภทแชร์ล็อตเตอรี, แชร์ออมเงิน, แชร์ทองราคาถูก, แชร์บ้านต่าง ๆ
ผู้เสียหาย 90% ยอมรับว่า ตัดสินใจลงทุน เพราะต้องการผลตอบแทนสูง เช่น ลงทุน 100,000 จะได้ 10% ตอบแทนทุกเดือน หรือทุกสัปดาห์ แรก ๆ ก็จะได้ตามที่ตกลง แต่หลัง ๆ ก็จะถูกเบี้ยว ส่วนที่ทำให้กล้าลงทุน มี 2 เหตุผล คือ เห็นว่าคนอื่นหรือคนรอบตัวลงทุนไปแล้วได้ผลตอบแทนกลับมา เลยอยากได้บ้าง หรือ เชื่อเพราะเห็นคนมีชื่อเสียง มีฐานะดี มีเว็บไซต์ดูน่าเชื่อถือ การันตีว่าจะได้ผลตอบแทนแบบนั้นจริง ๆ ส่วนหากต้องการลงทุนแบบนี้จริงจะต้องระวังอะไรบ้างไปฟังคำเตือนนี้พร้อม ๆ กัน
ย้ำกันอีกที การชวนลงทุนที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ให้พึงระวังไว้ก่อน คือธุรกิจที่อ้างเรื่องผลตอบแทนสูง ให้ดอกเบี้ยมากกว่าสถาบันการเงิน ลงทุนระยะสั้น ได้เงินไว จัดฉากให้ดูน่าเชื่อถือเกินจริง เช่น มีคนมีชื่อเสียง คนมีฐานะดีมาถือเงินก้อน ระวังธุรกิจประเภทระดมทุน หรือการเน้นหาสมาชิก การชักชวนว่าจะได้ค่าหัวคิวจากการชวนคนอื่นมาลงทุน และสุดท้าย จำนวนผู้ลงทุนขยายตัวเร็วมากเกินไป อย่างในคดีแชร์แม่มณี เป็นต้น
"เหยื่อ" - Google News
August 30, 2020 at 01:13PM
https://ift.tt/2GbT7KP
ทำอย่างไร ไม่ตกเป็นเหยื่อลงทุนเล่นแชร์ - ช่อง 7
"เหยื่อ" - Google News
https://ift.tt/302hlPE
No comments:
Post a Comment